เครื่องบินที่เกิดอุบัติเหตุคือเครื่องบินรุ่นแมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-88ทะเบียนN909DL เครื่องบินลำนี้ผลิตเมื่อปี 2530 และเริ่มทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 และทำการบินกับสายการบินเดลตามาโดยตลอด เครื่องบินถูกสร้างขึ้นที่โรงงานดักลาสในลองบีชรัฐแคลิฟอร์เนีย เครืองบินทำการบินการบินมาแล้ว 71,195.54 ชั่วโมงและบินมาแล้ว 54,865 เที่ยวบินก่อนจะเกิดอุบัติเหตุ การบำรุงรักษาครั้งที่สำคัญของอากาศยานครั้งสุดท้ายคือวันที่ 22 กันยายน 2014 ในแจ็กสันวิลล์ นี้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องบินในโปรแกรมการบำรุงรักษาที่ถูกกำหนดอย่างสม่ำเสมอและรวมถึงการทดสอบของ autobrake ที่ป้องกันการลื่นไถลและระบบอัตโนมัติของสปอยเลอร์ การบริการตรวจสอบเครื่องบินที่ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2015 ในแทมปา, ฟลอริด้า
ใน เดือนมีนาคมปี 2015 MD-88 ทั้ง 117 ลำมีอายุเฉลี่ยของเครื่องบินเหล่านี้คือ 24.2 ปีและเป็นเครื่องบินเก่าแก่ที่สุดในฝูงบินของเดลต้าเที่ยวบินที่ 1086 ออกจากท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ทสฟิลด์–แจ็คสัน แอตแลนตาเมื่อเวลา 8.45 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่นและมีกำหนดที่จะลงจอดที่ท่าอากาศยานลากวาร์เดียเวลา 10.48 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น ที่ท่าอากาศยานลากวาร์เดียในขณะนั้นมีหิมะตกและมีหมอกหนามากในเวลาที่เครื่องบินเดินทางมาถึง กัปตันได้ทำการแจ้งให้ผู้โดยสารทราบว่าปัญหาสภาพอากาศจะทำให้เที่ยวบินมีความล่าช้า 3 นาทีก่อนหน้าที่เที่ยวบินที่ 1086 จะลงจอดได้มีแมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-88อีกหนึ่งลำของสายการบินเดลตาแอร์ไลน์ได้ทำการลงจอดที่รันเวย์ 13 ได้อย่างปลอดภัย นักบินของเที่ยวบินก่อนหน้านี้ยืนยันการควบคุมการจราจรทางอากาศและส่งไปให้นักของเที่ยวบิน 1086 ได้รับทราบแมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-80 ซีรีส์ (McDonnell Douglas MD-80 series) เป็นเครื่องบินเจ็ต แบบลำตัวแคบ มี 2 เครื่องยนต์ เครื่องบินรุ่นเอ็มดี-80 มีการปรับปรุงทำให้ความยาวของเครื่องเพิ่มขึ้นจากรุ่น แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9 สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 130–172 คน แต่โดยปกติในสายการบินราคาปกติจะรองรับผู้โดยสาร 140 คน และ 165 คนในสายการบินราคาประหยัด
เอ็มดี-80 เปิดตัวเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2523 โดยสายการบิน Swissair ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่องเป็นรุ่น เอ็มดี-90 ในปี พ.ศ. 2532 และ เอ็มดี-95 หรือ โบอิ้ง 717 ในปี พ.ศ. 2541 เครื่องบินดักลาส พัฒนามาจากรุ่น ดีซี-9 ในทศวรรษ 1960s ซึ่งมีขนาดยาวกว่า ดีซี-8 โดย ดีซี-9 ได้มีการออกแบบใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นส่วนเครื่องยนต์ที่อยู่ด้านหลังของลำตัวเครื่องบิน และหาง โดย ดีซี-9 มีลำตัวที่แคบ โดยมีที่นั่งผู้โดยสั่งฝั่งละ 5 ที่นั่ง และรองรับผู้โดยสารได้ 80–135 คน ขึ้นอยู่กับการจัดการที่นั่งของผู้โดยสารและเครื่องบินในแต่ละเวอร์ชัน
รุ่น เอ็มดี-80 เป็นเครื่องบินรุ่นที่สองของ ดีซี-90 ชื่อเดิมของ เอ็มดี-80 มีชื่อเรียกว่า ดีซี-9-80 หรือ ดีซี-9 ซูปเปอร์ 80 และให้บริการในปี 1980 เอ็มดี-80 ที่พัฒนามาจาก เอ็มดี-90 ให้บริการในปี 1955 การพัฒนาเปลี่ยนแปลงครั้งสุดทายของตระกูล ดีซี-9 คือ เอ็มดี-95 และได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น โบอิ้ง 717-200 หลังจาก แมคคอนเนลล์ดักลาส ได้ขายกิจการใน โบอิ้ง ในปี 1997
ตระกูล ดีซี-9 เป็นหนึ่งในเครื่องบินเจ็ตที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยสร้างได้มากกว่า 2,400 ลำ เป็นอันดับที่สาม รองมาจาก ตระกูล แอร์บัส เอ-320 ลำดับที่สอง ซึ่งสร้างได้มากกว่า 3,000 ลำ และ โบอิ้ง 737 เป็นอันดับที่หนึ่ง ซึ่งสร้างได้มากกว่า 5,000 ลำ เอ็มดี-80 ซีรีส์ เป็นเครื่องบินขนาดกลาง เปิดตัวในปี 1980 เป็นเครื่องบินรุ่นที่สองของ ตระกูล ดีซี-9 ซึ่งมีเครื่องยนต์ เทอร์โบแฟน ขนาดเล็ก ตั้งอยู่ทางตอนหลังของลำตัวเครื่องบิน มีปีกที่มีประสิทธิภาพสูง และมีหางอยู่ด้านบนในส่วนตอนหลัง (T-tail) เครื่องบินรุ่นนี้มีจุดเด่นคือ มีที่นั่งผู้โดยสารฝั่งละ 5 คน และทำให้ลำตัวเครื่องบินมีความยาวออกไปมากกว่า เอ็มดี-9-50 และสามารถ Take off ได้โดยขณะที่เครื่องบินมีน้ำหนักมาก และมีความสามารถในการบรรทุกน้ำมัน เครื่องบินรุ่นนี้ออกแบบมาสำหรับการใช้งานบ่อย ๆ การเดินทางหรือการขนส่งที่สั้น โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้เพียง 130–172 คนต่อเที่ยวบิน ขึ้นอยู่กับเวอร์ชันของเครื่องบินและการจัดการที่นั่งของแต่ละสายการบิน
การพัฒนาเครื่องบินรุ่น เอ็มดี-80 เริ่มพัฒนาขึ้นในปี 1970 ขณะที่ยังมีการขยายตัวและเพิ่มขึ้นของเครื่องบินรุ่น ดีซี-9 ซีรีส์ 50 Pratt & Whitney JT8D เป็นเครื่องยนต์ใหม่ที่ใช้ขับเคลื่อนเครื่องบินรุ่น ดีซี-9 ซีรีส์ 55 ซีรีส์ 50 และ ซีรีส์ 60 ในการออกแบบมีความพยายามที่จะติดตั้งให้กับเครื่องบินรุ่น ดีซี-9 ซีรีส์ 55 ในเดือน สิงหาคม 1977 และใช้งานได้จริงในปี 1980 จากการออกแบบในครั้งนี้ ทำให้สายการบินมีความต้องการเป็นจำนวนมาก ทำให้สายการบิน Swissair ได้ปล่อยเครื่องบิน ซีรีส์ 80 ออกมาในเดือน ตุลาคม 1977 และมีคำสั่งซื้อมากกว่า 15 ลำ ซีรีส์ 80 มีความยาวของลำตัวซึ่งยาวกว่า ดีซี-9-50 14 ฟุต 3 นิ้ว ปีกของ ดีซี-9 มีการออกแบบใหม่ โดยเพิ่มความยาวของปีกหลักและจุดปลายสุดของปีกอีก 28% ซีรีส์ 80 เริ่มบินครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 1979 หลังจากให้บริการปี 1980 โดยเริ่มแรกมีการรับรองเครื่องบินเวอร์ชันของ ดีซี-9 แต่มีการเปลี่ยนเป็น เอ็มดี-80 ในเดือนกรกฎาคม 1983 ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงของบริษัท เวอร์ชันใหม่ของซีรีส์ 80 คือ เอ็มดี-81/82/83 และล่าสุดคือ เอ็มดี-87 อย่างไรก็ตาม ดีซี-90-81/82 และรุ่นอื่น ๆ ก็ได้รับใบรับรอง โดยเฉพาะ เอ็มดี-88 ได้มีการให้ใบรับรองชื่อว่า “เอ็มดี” และรวมถึง เอ็มดี-90 ด้วยรุ่น 200 เป็นรุ่นพิเศษของรุ่น 100 โดยจะมีลำตัวเครื่องกว้างกว่า เปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2508 โดยสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ก่อนจะเริ่มสายการผลิตใน พ.ศ. 2510 และเริ่มให้บริการใน พ.ศ. 2511 ในปัจจุบัน ยังมีธุรกิจพาณิชย์จำนวนมากที่ยังใช้เครื่องรุ่น 200 แต่ในด้านธุรกิจเครื่องบินโดยสาร รุ่น 200 เสียเปรียบรุ่นที่ใหม่กว่า เพราะรุ่น 200 ค่อนข้างจะสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และมีเสียงเครื่องยนต์รบกวนดัง เมื่อเทียบกับรุ่นใหม่ ดังนั้น ธุรกิจเครื่องบินโดยสารจึงลดการใช้รุ่น 200 ลงไป และในที่สุด รุ่น 200 ก็หายไปจากวงการเครื่องบินโดยสารใน พ.ศ. 2551 โดยสารการบินสุดท้ายที่ใช้คือ อโลฮ่าแอร์ไลน์ (Aloha Airlines)