กองทัพอากาศกองทัพปลดปล่อยประชาชน เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพปลดปล่อยประชาชนที่ดูแลปฏิบัติการทางทหารที่ใช้อากาศยานในจีน ในปี 2010 กองทัพนี้ได้มีกำลังรบประมาณ 330,000 นายและเครื่องบินที่เพิ่มอีก 2,500 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินรบ 1,617 ลำ กองทัพปลดปล่อยประชาชนทางอากาศจีนเป็นกองทัพอากาศที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย และใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 3 รองจากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา และกองทัพอากาศรัสเซีย ซึ่งยังไม่รวมกองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชนซึ่งมี 26,000 นายและเครื่องบิน 570 ลำ (เป็นเครื่องบินรบ 290 ลำ) กองทัพอากาศสหรัฐ คือกองกำลังพิเศษทางอากาศของกองทัพสหรัฐ และเป็นกองกำลังหนึ่งในเจ็ดของหน่วยงานที่ใส่เครื่องแบบของสหรัฐ ในอดีตวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2450 ยูเอสเอเอฟเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพสหรัฐ ในเวลาต่อมายูเอสเอเอฟได้แยกตัวออกมาจากกองทัพสหรัฐและได้ก่อตั้งเป็นกองกำลังใหม่ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2490 ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ ค.ศ. 1947 ทำให้ยูเอสเอเอฟเป็นกองกำลังในกองทัพสหรัฐ รองจากกองทัพอวกาศสหรัฐ ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ล่าสุด ปัจจุบันยูเอสเอเอฟได้เป็นกองทัพอากาศที่ใหญ่ที่สุดและมีเทคโนโลยีมากที่สุดในโลก จากข้อความนี้ได้สะท้อนถึงภารกิจหลักของยูเอสเอเอฟ ซึ่งก็มีการปกป้องน่านฟ้า, การคุกคามจากอวกาศ, ยุทธศาสตร์การทิ้งระเบิด, การย้ายพลที่รวดเร็ว และการเป็นผู้นำหรือผู้บัญชาการ
กองทัพอากาศสหรัฐเป็นหน่วยงานที่ถูกควบคุมดูแลโดยกระทรวงทหารอากาศสหรัฐ, ซึ่งกระทรวงทหารอากาศสหรัฐเป็นหนึ่งในสามกระทรวงที่ขึ้นต่อกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ยูเอสเอเอฟมีผู้บริหารสูงสุดคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารอากาศ ซึ่งวิธีการแต่งตั้งคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะต้องส่งคำร้องไปยังประธานาธิบดี ถ้าประธานาธิบดีกับวุฒิสภาเห็นชอบก็จะได้รับการแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่ทหารที่มียศสูงสุดในกองกำลังจะเป็นเสนาธิการทหารอากาศ, ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมดูแลหน่วยงานต่าง ๆ ในยูเอสเอเอฟ และเป็นหนึ่งในสมาชิกของคณะเสนาธิการร่วม การรบทางอากาศหรือการเคลื่อนย้ายพลจะต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก่อนเท่านั้น ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารอากาศหรือเสนาธิการทหารอากาศไม่มีสิทธิ์ในการอนุมัติ
นอกจากการปกป้องน่านฟ้าและอวกาศแล้ว ยูเอสเอเอฟยังคอยสนับสนุนกองกำลังในกองทัพสหรัฐ คือ กองทัพบกสหรัฐ และกองทัพเรือสหรัฐ หรือไม่ก็ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทางอากาศ ในปี พ.ศ. 2560 อากาศยานในยูเอสเอเอฟมีทั้งหมด 5,369 ลำ, มีขีปนาวุธข้ามทวีป 406 ลูก และดาวเทียม 170 ชิ้น ซึ่งมีราคา 161 พันล้านดอลลาร์ ยูเอสเอเอฟมีจำนวนคนในกองกำลังเป็นอันดับสองของโลก โดยที่มีกำลังพลประจำการ 318,415 คน, สำรองอีก 69,200 คน และรักษาความปลอดภัย 105,700 คนกองทัพสหรัฐ เป็นกองทหารของสหรัฐ ประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ เหล่านาวิกโยธิน กองทัพอากาศ กองทัพอวกาศ และหน่วยยามฝั่ง สหรัฐมีประเพณีพลเรือนควบคุมทหารอย่างเข้มแข็ง ประธานาธิบดีสหรัฐเป็นผู้บัญชาการทหาร และมีกระทรวงกลาโหมทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักซึ่งนำนโยบายทางทหารไปปฏิบัติ กระทรวงกลาโหมมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นพลเรือนและอยู่ในคณะรัฐมนตรี เป็นเจ้ากระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่ในอันดับที่สองของสายการบังคับบัญชาของทหาร รองแต่เพียงประธานาธิบดี และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหลักของประธานาธิบดีในกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง ประธานาธิบดีมีสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council) เป็นที่ปรึกษา ซึ่งมีที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Advisor) เป็นผู้นำ เพื่อประสานงานการปฏิบัติทางทหารกับการทูต ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีเสนาธิการร่วม (Joint Chiefs of Staff) เจ็ดคนเป็นที่ปรึกษา ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยหัวหน้าเหล่าทัพต่าง ๆ ของกระทรวงและหัวหน้าสำนักงานหน่วยรักษาดินแดน (National Guard Bureau) โดยประธานเสนาธิการร่วมและรองประธานเสนาธิการร่วมเป็นผู้สรรหาผู้นำ ผู้บัญชาการยามฝั่งไม่เป็นสมาชิกของเสนาธิการร่วม
ทุกเหล่าทัพประสานงานระหว่างปฏิบัติการและภารกิจร่วม ภายใต้การบังคับบัญชาพลรบรวม (Unified Combatant Command) ซึ่งอยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยกเว้นยามฝั่ง ยามฝั่งอยู่ในการบริหารจัดการของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และได้รับคำสั่งปฏิบัติการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ประธานาธิบดีหรือรัฐสภาคองเกรสอาจโอนอำนาจการบังคับบัญชาหน่วยยามฝั่งไปให้กระทรวงทหารเรือ ในยามสงครามได้ เหล่าทัพทั้งห้าล้วนจัดเป็นหน่วยที่แต่งเครื่องแบบสหรัฐอันมีอยู่เจ็ดหน่วย อีกสองหน่วยได้แก่ หน่วยบริการสาธารณสุข และ หน่วยการบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ นับแต่ก่อตั้ง กองทัพมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์สหรัฐ สัมผัสความสามัคคีและเอกลักษณ์ของชาติถูกสร้างขึ้นจากผลของชัยชนะในสงครามบาร์บารีทั้งสองครั้ง กระนั้น บิดาผู้ก่อตั้งยังไม่ไว้ใจการมีกำลังทหารถาวร จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองปะทุ สหรัฐจึงตั้งกองทัพบกประจำการขนาดใหญ่อย่างเป็นทางการ รัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ ค.ศ. 1947 ซึ่งผ่านมติเห็นชอบในช่วงเริ่มแรกของสงครามเย็น ได้จัดตั้งกรอบทหารสหรัฐสมัยใหม่ รัฐบัญญัติดังกล่าวรวมกระทรวงสงคราม และ กระทรวงทหารเรือในอดีตเข้าด้วยกันเป็นหน่วยจัดตั้งทหารแห่งชาติ (National Military Establishment) ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงกลาโหมใน ค.ศ. 1949 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้นำ ตลอดจนตั้งกระทรวงทหารอากาศและสภาความมั่นคงแห่งชาติ
กองทัพสหรัฐนับเป็นหนึ่งในกองทัพขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในแง่ยอดกำลังพล กำลังพลได้มาจากอาสาสมัครจำนวนมากซึ่งได้รับค่าตอบแทน แม้ในอดีตจะมีการเกณฑ์ทหารทั้งในยามสงครามและยามสงบ แต่ไม่มีการเกณฑ์ทหารอีกนับแต่ ค.ศ. 1972 ใน ค.ศ. 2013 สหรัฐมีรายจ่ายเพื่อสนับสนุนกองทัพราว 554,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี และจัดสรรงบประมาณราว 88,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการการเผชิญเหตุโพ้นทะเล (Overseas Contingency Operation) เมื่อรวมกันแล้ว สหรัฐมีรายจ่ายทางทหารเป็นร้อยละ 39 ของรายจ่ายทางทหารโลก